ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เอียง, ลำเวียง, ลำเอียก, ลำเลียง, ละเอียด, ลำเจียก, ลำเลียบ, ภัสมะ, อณุ,อณู,อณู, จำเรียง
ลำเอียง
หมายถึงก. เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่วางตัวเป็นกลาง, ไม่เที่ยงธรรม.
อคติ
หมายถึง[อะคะ-] น. ความลำเอียง มี ๔ อย่าง คือ ฉันทาคติ = ความลำเอียงเพราะรัก โทสาคติ = ความลำเอียงเพราะโกรธ ภยาคติ = ความลำเอียงเพราะกลัว โมหาคติ = ความลำเอียงเพราะเขลา. (ป.).
รังเกียจเดียดฉันท์
หมายถึงก. ลำเอียงด้วยความรังเกียจ.
เลือกที่รักมักที่ชัง
หมายถึง(สำ) ก. ลำเอียง.
เดียดฉันท์
หมายถึงก. ไม่พอใจด้วย, รังเกียจ, ลำเอียง.
เห็นแก่หน้า
หมายถึงก. ลำเอียงในบุคคล, มุ่งเฉพาะคน.
กระเท่เร่
หมายถึงว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลำเอียงมาก.
ฉันทา
หมายถึง(กลอน) ก. ลำเอียงเพราะรักใคร่ชอบใจ เช่น พระแก่วันชันษากว่าข้านี้ นึกว่าพี่น้องกันไม่ฉันทา. (อภัย).
โมหาคติ
หมายถึงน. ความลำเอียงเพราะความเขลา เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. โมห + อคติ).
โทสาคติ
หมายถึงน. ความลำเอียงเพราะความโกรธ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. โทส + อคติ).
ฉันทาคติ
หมายถึงน. ความลำเอียงเพราะความรักใคร่ชอบใจ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. ฉนฺท + อคติ).
ภยาคติ
หมายถึง[พะยาคะติ] น. ความลำเอียงเพราะความกลัว เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. ภย + อคติ).