ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ยี, ปล่อย, ชะเลง, เลวง, ทอดทิ้ง, ละเวง, กง, กรัก, เริด, เชลง, ปละ
ละเลง
หมายถึงก. ป้ายทาหรือไล้ทาให้แผ่ออกไปด้วยวิธีวนเป็นวงกลม ๆ เช่น ละเลงขนมเบื้อง, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้เลอะเทอะ เช่น เอาแป้งละเลงหน้า.
ยี
หมายถึงก. ขยี้ เช่น ยีลูกตาล, ขยี้ให้ฟู เช่น ยีแป้งขนมขี้หนู, ทำให้ฟู เช่น ยีผม, ละเลง เช่น ตักอาหารมามาก ๆ กินไม่หมดจะเอายีหัว.
ละเลงเลือด
หมายถึงว. อาการที่ต่อสู้กันจนเลือดออกมากเปรอะไปด้วยกัน เช่น ทั้ง ๒ ฝ่ายต่อสู้กันถึงขั้นละเลงเลือด.
ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
หมายถึง(สำ) ก. ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้.
มอมหน้า,มอมหน้ามอมตา
หมายถึงก. เอามินหม้อเป็นต้นละเลงบนหน้าเพื่อไม่ให้คนอื่นจำหน้าได้.
ไล้
หมายถึงก. ทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป เช่น ไล้ครีมให้ทั่วหน้า, เกลี่ยให้เสมอกัน, เกลี่ยให้เรียบ, เช่น ไล้ปูน.
ล้างไพ่
หมายถึงก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันคนให้ทั่วหลาย ๆ หนแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินกันหลาย ๆ ตาแล้ว.
ทำไพ่
หมายถึงก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่หลังจากกินแต่ละตาแล้ว การทำไพ่อาจทำให้เป็นประโยชน์แก่มือใดมือหนึ่งก็ได้.
ข้าวเกรียบปากหม้อ
หมายถึงน. ชื่อของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทำด้วยกุ้งหรือหมูเป็นต้น.
ข้าวเกรียบอ่อน
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสมกับนํ้าตาลโตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทำด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงา.
เบื้อง
หมายถึงน. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่ง ทำโดยละเลงแป้งที่ผสมดีแล้วลงบนกระทะแบนที่เรียกว่า กระเบื้อง ให้เป็นแผ่นกลม ๆ และบางเสมอกัน ใส่ไส้หวานหรือไส้เค็มแล้วพับ ๒ เรียกว่า ขนมเบื้อง หรือ ขนมเบื้องไทย.
ทา
หมายถึงก. คำรวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทาเกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปมา ก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.