ค้นเจอ 12 รายการ

รุ้ง

หมายถึงน. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Spilornis cheela ในวงศ์ Accipitridae ตัวสีนํ้าตาลเข้ม มีลายจุดขาวที่หัว ปีก และท้อง หางสีนํ้าตาลพาดขาว มีพู่ขนตรงต้นคอซึ่งจะแผ่ออกเห็นได้ชัดเวลาโกรธหรือต่อสู้กัน, อีรุ้ง ก็เรียก.

รุ้ง

หมายถึงน. แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่าง ๆ ๗ สี คือ ม่วง คราม นํ้าเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง, สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร. ว. กว้างโค้ง, โค้ง เช่น ขุดรุ้งรางเข้าไป.

อินทรธนู

หมายถึง[อินทะนู] น. รุ้ง (แถบสีโค้งบนท้องฟ้า); เครื่องประดับบ่าอย่างหนึ่งเพื่อแสดงยศเป็นต้น; ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก.

อีรุ้ง

หมายถึงดู รุ้ง ๒.

เส้นรุ้ง

หมายถึงน. ละติจูด.

แฉว

หมายถึง[ฉะแหฺว] (โบ) ว. ที่รุ้ง, ที่คุ้ง, ที่เวิ้ง.

ทรงกลด

หมายถึงว. มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์.

รุ้งพราย

หมายถึงน. สีรุ้งที่กลอกอยู่พราวพรายในเพชรหรือเปลือกหอยบางชนิด เช่นหอยมุก.

เหยี่ยว

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็นอาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).

ละติจูด

หมายถึงน. เส้นรอยตัดระหว่างผิวโลกกับพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ รอยตัดนี้จะเป็นวงกลมที่ขนานกับเส้นศูนย์สูตร ค่าของละติจูดนับออกจากเส้นศูนย์สูตรไปทางขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้ โดยวัดไปตามเส้นเมริเดียน เป็นมุมที่ศูนย์กลางของโลก, เดิมใช้ว่า เส้นรุ้ง. (อ. latitude).

สงกรานต์

หมายถึง[-กฺราน] น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สีรุ้ง ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์.

กลด

หมายถึง[กฺลด] น. ร่มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขอบร่มมีระบาย คันยาวกว่าก้านร่ม ใช้ถือกั้นเจ้านาย หรือพระภิกษุที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. (ข. กฺลส).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ