ค้นเจอ 13 รายการ

รัดเกล้า

หมายถึงน. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักแต่โบราณ และประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี ๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สำหรับกษัตรี และรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลว สำหรับพระสนม.

รัดเครื่อง

หมายถึงก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้าให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.

รัดช้อง

หมายถึงน. เครื่องประดับสำหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอย ใช้ประกอบกับรัดเกล้า.

รัดประคด

หมายถึงน. ผ้าที่ใช้รัดอกหรือสายที่ถักด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับรัดเอวของภิกษุสามเณร, เรียกสั้น ๆ ว่า ประคด, ถ้าใช้รัดอก เรียกว่า ประคดอก, ถ้าใช้รัดเอว เรียกว่า ประคดเอว.

รัดรึง

หมายถึงก. กอดแน่น, ผูกแน่น, เช่น ความรักรัดรึงใจ.

รัดตัว

หมายถึงก. ทำให้ไม่คล่องตัว, ทำให้กระดิกกระเดี้ยไปไหนแทบไม่ได้, เช่น การเงินรัดตัว งานรัดตัว.

รัดทึบ

หมายถึงน. สายผูกอานล่ามรอบอกม้า มักทำด้วยผ้า.

รัดกุม

หมายถึงว. ไม่รุ่มร่าม, กระชับ, ไม่ยาวเยิ่นเย้อ, เช่น แต่งตัวรัดกุม สำนวนรัดกุม.

รัดรูป

หมายถึงว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป; เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทำให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป, คู่กับ ขวดส่งรูป ซึ่งทำให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.

รัด

หมายถึงก. โอบรอบหรือพันให้กระชับ เช่น กอดรัด งูเหลือมรัด เอายางรัด, คับ, ตึง, เช่น แขนเสื้อรัด กระโปรงรัดสะโพก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเม็ดต้อยติ่งพอกทำให้ฝีรัด.

รัดเข็มขัด

หมายถึง(ปาก) ก. ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนต้องรัดเข็มขัด.

รัดประคน

หมายถึงน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัวถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กูบมิให้โยกเลื่อน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ