ค้นเจอ 14 รายการ

ระบำ

หมายถึงน. การแสดงที่ใช้ท่าฟ้อนรำ ไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกอย ระบำฉุยฉาย. ก. ฟ้อนรำที่แสดงไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้.

บัลเลต์

หมายถึงน. ระบำปลายเท้า.

ระบำปลายเท้า

หมายถึงน. การเต้นรำแบบหนึ่งของชาวตะวันตก แสดงเป็นเรื่องราวหรือแสดงเดี่ยวก็ได้, บัลเลต์ ก็ว่า. (อ. ballet).

นฤตยสถาน

หมายถึงน. ที่สำหรับการระบำ. (ส.).

นฤตยศาสตร์

หมายถึงน. วิทยาหรือศิลปะแห่งการระบำ. (ส.).

พาณินี

หมายถึงน. นางละคร, นางระบำ; หญิงเมาสุรา. (ส.).

นฤตย,นฤตย-,นฤตย์

หมายถึง[นะริดตะยะ-, นะริด] น. การระบำ, การฟ้อนรำ, การเต้นรำ. (ส.).

ตัวพระ

หมายถึงน. ผู้แสดงละครรำหรือระบำ เข้าเครื่องละครรำ ใช้ลีลาท่ารำแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร.

ตัวนาง

หมายถึงน. ผู้แสดงละครรำหรือระบำ เข้าเครื่องละครรำ ใช้ลีลาท่ารำแบบหญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร.

มิ

หมายถึงก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).

เต้น

หมายถึงก. กิริยาที่ยืนอยู่แล้วยกเท้าขึ้น ๆ ลง ๆ ถี่ ๆ, เคลื่อนไหวขึ้น ๆ ลง ๆ หรือไป ๆ มา ๆ เช่น เนื้อเต้น อกเต้น, ยกขาขึ้นลงให้เข้าจังหวะกับดนตรี เช่น เต้นระบำ.

ชุด

หมายถึงน. ของที่คุมเข้าเป็นสำรับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็นพวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบำ, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของโขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนามเรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทำนองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ