ค้นเจอ 2,102 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ประเทียบ, วอพระประเทียบ

ประเทียบ

หมายถึงน. พระสนม; เรียกรถฝ่ายในว่า รถพระประเทียบ, เรียกเรือฝ่ายในว่า เรือพระประเทียบ, โดยอนุโลมเรียกรถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่า รถพระประเทียบ.

รถพระประเทียบ

หมายถึงน. รถฝ่ายใน, รถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช.

ประเทียบ

หมายถึงก. เทียบ.

เรือพระประเทียบ

หมายถึงน. เรือหลวงจัดเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหรือพระราชทานเป็นยานพาหนะของสมเด็จพระสังฆราช.

วอพระประเทียบ

หมายถึงน. วอสำหรับเจ้านายฝ่ายใน.

วิษณุรถ

หมายถึงครุฑ, เป็นพาหนะของพระวิษณุ

รถพระที่นั่ง

หมายถึงน. รถยนต์ที่พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้นทรง เรียกเต็มว่า รถยนต์พระที่นั่ง, ถ้าเป็นรถม้า เรียกว่า รถม้าพระที่นั่ง.

ราชรถ

หมายถึง[ราดชะรด] น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีบุษบกเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันมีอยู่ ๒ คัน คือ พระมหาพิชัยราชรถ กับ เวชยันตราชรถ ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ.

รถ,รถ-

หมายถึง[รด, ระถะ-] น. ยานที่มีล้อสำหรับเคลื่อนไป เช่น รถม้า รถยนต์ รถไฟ; (กฎ) ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ. (ป.).

รถพระที่นั่งรอง

หมายถึงน. รถยนต์ที่เตรียมสำรองไว้ใช้แทนรถพระที่นั่งในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินเป็นทางการ.

รถร่วม

หมายถึงน. รถโดยสารเอกชนที่เข้ามาร่วมกับบริษัทหรือองค์การที่ได้รับสัมปทานในการเดินรถ เช่น รถร่วม บขส.

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ