ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ที่นั่ง, องค, องค-, องค์
รถพระที่นั่ง
หมายถึงน. รถยนต์ที่พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้นทรง เรียกเต็มว่า รถยนต์พระที่นั่ง, ถ้าเป็นรถม้า เรียกว่า รถม้าพระที่นั่ง.
ที่นั่ง
หมายถึง(ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ประทับสำหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
รถพระที่นั่งรอง
หมายถึงน. รถยนต์ที่เตรียมสำรองไว้ใช้แทนรถพระที่นั่งในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินเป็นทางการ.
เรือพระที่นั่ง
หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช.
ม้าต้น
หมายถึงน. ม้าพระที่นั่งโดยเฉพาะ.
วิษณุรถ
หมายถึงครุฑ, เป็นพาหนะของพระวิษณุ
รถพระประเทียบ
หมายถึงน. รถฝ่ายใน, รถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช.
รถสองแถว
หมายถึงน. รถรับจ้างที่มีที่นั่งไปตามความยาวของรถเป็น ๒ แถว.
เรือพระที่นั่งกิ่ง
หมายถึงน. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข.
เรือพระที่นั่งศรี
หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้าสักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.
เรือพระที่นั่งรอง
หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จทางชลมารค เช่น เรืออนงคนิกร เรืออัปสรสุรางค์.
เรือพระที่นั่งกราบ
หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จไปอย่างลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับทรงสำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.