ค้นเจอ 30 รายการ

ยืนยัน

หมายถึงก. พูดคงคำโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดยแน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนงโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คำเดียวก็มี.

ยัน

หมายถึงก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้ายันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยันเปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.

รับประกัน

หมายถึงก. ยืนยัน เช่น รับประกันว่าเขาเป็นคนซื่อ, รับรอง, รับใช้ค่าเสียหาย, เช่น รับประกันคุณภาพ รับประกันซ่อมฟรี; (กฎ) รับรองว่าจะรับผิดแทนลูกหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา.

ปฏิเสธข่าว

หมายถึงก. แสดงยืนยันว่าไม่เป็นไปตามนั้น.

ข่าวลือ

หมายถึงน. ข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน.

ยืนคำ

หมายถึงก. ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง.

ปากแข็ง

หมายถึงว. พูดยืนยันหรือเถียงอย่างดื้อดันไม่ยอมจำนนข้อเท็จจริง.

นั่นแน่

หมายถึงคำแสดงการยืนยันการพบเห็นเป็นต้น เช่น นั่นแน่มาอยู่ที่นี่เอง นั่นแน่ ว่าแล้วอย่างไรล่ะ.

เอกังสวาที

หมายถึง[-สะ-] น. “ผู้กล่าวโดยส่วนเดียว” หมายถึง ผู้กล่าวยืนยันเด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้.

ระเค็ดระคาย

หมายถึงน. เค้าเงื่อนที่ทราบมานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยันให้แน่นอนไม่ได้, ระแคะระคาย ก็ว่า.

ระแคะระคาย

หมายถึงน. เค้าเงื่อนที่ทราบมานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยันให้แน่นอนไม่ได้, ระเค็ดระคาย ก็ว่า.

พยานหลักฐาน

หมายถึง(กฎ) น. บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยันหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง. (อ. evidence).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ