ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ตัดกัน, ชำนน, กราน, มังตาน, ยัน, ยืนยัน, รับประกัน, หลอก, ปรองดอง, ปะทะ, วัดเหวี่ยง
ยันกัน
หมายถึงก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน.
ยัน
หมายถึงก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้ายันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยันเปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
หมายถึงก. เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. ว. ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน.
ยันป้าย
หมายถึงก. ถึงที่สุด เช่น เที่ยวยันป้าย.
ยันตร,ยันตร-,ยันตร์
หมายถึง[ยันตฺระ-, ยัน] น. ยนตร์. (ส.; ป. ยนฺต).
สวนปากสวนคำ
หมายถึงก. สอบปากคำยันกันดู.
ต้านทาน
หมายถึงก. ขัดขวาง, ยับยั้ง, ต่อสู้ยันไว้.
อุตตรายัน
หมายถึง[อุดตฺรา-] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).
ยรรยง
หมายถึง[ยัน-] ว. งามสง่า, กล้าหาญ.
ภยันตราย
หมายถึง[พะยันตะราย] น. ภัยและอันตราย. (ป.).
ต่อปากหลากคำ
หมายถึงก. เฝ้าเถียงกันไม่รู้จักจบ, พูดยันกันเพื่อพิสูจน์ความ.
ค้ำ
หมายถึงก. เอาไม้ง่ามเป็นต้นยันไว้เพื่อไม่ให้ทรุด ไม่ให้ล้มหรือไม่ให้เข้ามา.