ค้นเจอ 61 รายการ

ยัน

หมายถึงก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้ายันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยันเปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.

ยัน

หมายถึงก. เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. ว. ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน.

ยันกัน

หมายถึงก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน.

ยันตร,ยันตร-,ยันตร์

หมายถึง[ยันตฺระ-, ยัน] น. ยนตร์. (ส.; ป. ยนฺต).

กราน

หมายถึง[กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.

ยืนยัน

หมายถึงก. พูดคงคำโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดยแน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนงโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คำเดียวก็มี.

ยรรยง

หมายถึง[ยัน-] ว. งามสง่า, กล้าหาญ.

เท้า

หมายถึงน. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืนเอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.

ยันป้าย

หมายถึงก. ถึงที่สุด เช่น เที่ยวยันป้าย.

สวนปากสวนคำ

หมายถึงก. สอบปากคำยันกันดู.

ต้านทาน

หมายถึงก. ขัดขวาง, ยับยั้ง, ต่อสู้ยันไว้.

อุตตรายัน

หมายถึง[อุดตฺรา-] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ