ค้นเจอ 19 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา สีกรุด

มโหรี

หมายถึงดู สีกรุด.

มโหรี

หมายถึงน. วงดนตรีที่มีเครื่องผสมทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า และมีผู้ขับร้องร่วมด้วย.

สีกรุด

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลชนิด Pomadasys maculatum ในวงศ์ Pomadasyidae ลักษณะคล้ายปลาจวด ใต้คางมีรู ๒ รู ลำตัวสีเงิน แนวสันหลังสีเข้มเป็นแถบและจุดยาว ส่งเสียงดังเมื่อถูกจับพ้นผิวนํ้า, มโหรี กระต่ายขูด กะทิขูด หรือ หัวขวาน ก็เรียก.

ทะแยสามชั้น

หมายถึงน. เพลงสำหรับร้องรับในวงมโหรีปี่พาทย์.

รำมะนา

หมายถึงน. กลองขึงหนังหน้าเดียว รูปกลมแป้น มี ๒ ชนิด ชนิดที่ใช้กับวงลำตัดมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้กับวงมโหรี.

ฆ้องวง

หมายถึงน. ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยหนังตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๙ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด คือ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี.

บ้าบ่น

หมายถึงน. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้มโหรีเป็นเครื่องรับ ทำตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน, กระทงลอย หรือ กระทงน้อย ก็เรียก.

กระทงลอย

หมายถึงน. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้เครื่องรับมโหรี ทำตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน, กระทงน้อย หรือ บ้าบ่น ก็เรียก.

ครึ้ม

หมายถึง[คฺรึ้ม] ว. มืดมัว เช่น อากาศครึ้ม; ร่มและเย็น เช่น ป่าครึ้ม; ดกและงาม (ใช้แก่หนวด); ทำให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม. ก. กริ่ม, กระหยิ่ม, ร่าเริงในใจ, เช่น ครึ้มใจ.

กะระหนะ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยของเก่า เป็นเพลงเครื่องสายประสมปี่พาทย์ ทำตอนชมสวนหรือเล่นสนุก เช่น ในเรื่องอิเหนาตอนอุณากรรณเล่นมโหรีกับพวกในสวนดอกไม้เมืองกาหลัง.

ซอ

หมายถึงน. ชื่อเครื่องดนตรีพวกหนึ่งสำหรับสี ในพวกเครื่องสายหรือมโหรี มีคันชักสีให้ดัง มีหลายชนิด เช่น ซออู้ ซอด้วง, ลักษณนามว่า คัน. ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น ขับซอยอราชเที้ยร ทุกเมือง. (ลอ).

โทน

หมายถึงน. ชื่อกลองประเภทหนึ่งสำหรับตีขัดจังหวะ ขึงหนังด้านเดียวคล้ายกลองยาว แต่เล็กและสั้นกว่า มี ๒ ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. ว. มีจำเพาะหนึ่งเท่านั้น, ใช้แก่สิ่งที่ตามปรกติควรจะมีมากกว่าหนึ่ง แต่มีเพียงหนึ่งเท่านั้น เรียกว่า โทน เช่น ลูกโทน มะพร้าวโทน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ