ค้นเจอ 10 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา มฤค, มฤค-, มฤคทายวัน

มฤคทายวัน

หมายถึง[มะรึกคะทายะ-, มะรึกคะทายยะ-] น. ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา; ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ. (ป. มิคทายวน; ส. มฺฤค + ทาย + วน).

มฤคศิรมาส

หมายถึงน. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์มฤคศิระ คือ เดือนอ้าย ตกในราวเดือนธันวาคม.

มฤค-

หมายถึง[มะรึกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).

มฤคชาติ

หมายถึงน. เนื้อ, หมู่เนื้อ.

มฤคย์

หมายถึง[มะรึก] ว. สิ่งที่ควรติดตาม, สิ่งที่ต้องการ. (ส.).

มฤคศิระ,มฤคเศียร,มิคสิระ

หมายถึง[มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน, มิคะสิระ, มิกคะสิระ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).

มฤคินทร์,มฤเคนทร์

หมายถึง[มะรึคิน, -เคน] น. ราชสีห์. (ส. มฺฤค + อินฺทฺร).

มฤค

หมายถึง[มะรึก] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).

มฤคราช

หมายถึงน. ราชสีห์. (ส.).

มฤคศิรัส

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ