ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ธุม,ธุม-, กุม, สุม, ลายเฉลวโปร่ง, ภาม, ภุช,ภุช,ภุช-, ภุต, กม, แจง,แจง,แจ่ง
ภุม,ภุม,ภุม-,ภุม-
หมายถึง[พุม, พุมมะ-] น. ดาวอังคาร; วันอังคาร. (ป. ภุมฺม; ส. เภาม).
ภุม,ภุม-,ภุม-
หมายถึง[พุมมะ-] น. พื้นดิน, ภาคพื้น. (ป. ภุมฺม).
ภุม
หมายถึง[พุม] ว. ไม่ เช่น ภุมมาน ว่า ไม่มี, ภุมบาน ว่า ไม่ได้. (ข. ).
ภุมโม
หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
ภุมมะ
หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
ภุมวาร,ภุมมวาร
หมายถึง[พุมมะวาน] น. วันอังคาร. (ป. ภุมฺมวาร).
จตุรงคยมก
หมายถึง[จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
ยาม,ยาม-
หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).