ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา พฤนท์, อินทุ
พินทุ
หมายถึงน. หยาดเช่นหยาดนํ้า, จุด, จุดที่ใส่ไว้ใต้ตัวอักษร; ลายแต้มสีที่หน้าผากระหว่างคิ้ว; รูปวงเล็ก ๆ; รูปสระ ดังนี้ ิ; ชื่อสังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิกำลัง ๗ หรือเลขหนึ่งมีศูนย์ตามหลัง ๔๙ ตัว. (ป. พินฺทุ; ส. พินฺทุ, วฺฤนฺท, วินฺทุ).
อุทพินทุ์
หมายถึง[-พิน] น. หยาดนํ้า. (ป., ส. อุท + พินฺทุ).
พฤนท์
หมายถึง[พฺรึน ถ้าสัมผัสกับ อิ อ่านเป็น พฺริน] น. กอง, หมู่, จำนวนมาก. (ส. วฺฤนฺท); สังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิยกกำลัง ๗ หรือ ๑ มีศูนย์ ๔๙ ตัว. (ส. วฺฤนฺท; ป. พินฺทุ).
พินทุสร
หมายถึง[พินทุสอน] น. เสียงเพราะ. (คำฤษดี). (ป. พินฺทุสฺสร).
พินทุกัป,พินทุกัปปะ
หมายถึงน. การทำพินทุ คือ เขียนรูปวงที่มุมจีวรตามวินัยบัญญัติ. (ป. พินฺทุกปฺป).
ไม้เสียบหนู
หมายถึงน. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ่ สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็น สระอี, ไม้ฝนทอง ก็เรียก.
ไม้ฝนทอง
หมายถึงน. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ่ สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็น สระอี, ไม้เสียบหนู ก็เรียก.
อัพพุท
หมายถึงน. ชื่อสังขยาจำนวนหนึ่ง คือ ร้อยแสนพินทุ เป็น ๑ อัพพุท หรือโกฏิยกกำลัง ๘ หรือเลข ๑ มีศูนย์ตามหลัง ๕๖ ตัว. (ป.).
ฝนทอง
หมายถึงน. เครื่องหมายรูปสระ เป็นรูปรอยขีดเดียวดังนี้ ' สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็นสระ อี; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง.
กษัตรีย์
หมายถึง[กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
ยามักการ
หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือบาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา.