ค้นเจอ 10 รายการ

พยศ

หมายถึง[พะยด] ก. แสดงอาการดื้อหรือถือตัวไม่ยอมทำตาม.

พิษสง

หมายถึง(ปาก) น. พิษ, พยศ.

ถอดเขี้ยวถอดเล็บ

หมายถึง(สำ) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์แสดงอำนาจอีกต่อไป.

กำราบ

หมายถึง[-หฺราบ] ก. ทำให้เข็ดหลาบ, ทำให้กลัว, ทำให้สิ้นพยศ, ทำให้สิ้นฤทธิ์.

วินิต

หมายถึงก. ฝึกหัดหรืออบรม, ทำให้ละพยศหรือละทิฐิมานะ, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).

ทำฤทธิ์

หมายถึงก. ทำพยศหรืออาละวาดเพื่อให้ได้รับการเอาอกเอาใจ (มักใช้แก่เด็ก), ทำฤทธิ์ทำเดช ก็ว่า.

สิ้นฤทธิ์

หมายถึงก. หมดฤทธิ์ เช่น เสือโคร่งพอถูกยิงด้วยลูกดอกยาสลบก็สิ้นฤทธิ์, หมดพยศ เช่น เด็กทำฤทธิ์ไม่ยอมกินข้าว พอหิวก็สิ้นฤทธิ์ จึงยอมกินแต่โดยดี.

เอาไม่อยู่

หมายถึงก. ปกครองไม่ได้, ควบคุมไม่ได้, เช่น เด็กคนนี้ซนมากจนพ่อแม่เอาไม่อยู่, ควบคุมให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เช่น ม้าตัวนี้พยศมากจนเจ้าของเอาไม่อยู่, เหลือความสามารถที่จะเยียวยาได้ เช่น โรคของเขาอาการหนักมากแพทย์คงจะเอาไม่อยู่.

ทรมาน

หมายถึง[ทอระมาน] ก. ทำให้ลำบาก, ทำทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทำให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้นด้วยคำนี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).

ละ

หมายถึงก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ