ค้นเจอ 16 รายการ

ผึ่ง

หมายถึงน. ชื่อเครื่องมือสำหรับถากไม้ชนิดหนึ่ง รูปคล้ายจอบ.

ผึ่ง

หมายถึงก. เอาไว้หรือให้อยู่อย่างเปิดเผย เพื่อให้ได้รับแดด ลม นํ้าค้าง เป็นต้น เช่น ผึ่งแดด ผึ่งลม. ว. ที่กางออก, ที่ผายออก, เช่น อกผายไหล่ผึ่ง; แสดงท่าทางว่าเป็นคนสำคัญหรือใหญ่โต, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น ทำผึ่ง นั่งผึ่ง วางผึ่ง.

ดักษณี

หมายถึง[-สะนี] น. ผึ่ง, ขวาน. (ส. ตกฺษณี; ป. ตจฺฉนี).

ตักษณี

หมายถึงน. ผึ่ง, ขวาน. (ส.; ป. ตจฺฉนี).

ตัจฉนี

หมายถึง[-ฉะนี] (แบบ) น. ผึ่ง, ขวาน. (ป.; ส. ตกฺษณี).

อกผายไหล่ผึ่ง

หมายถึงว. สง่า, องอาจ, ผึ่งผาย.

ผง่าน

หมายถึง[ผะหฺง่าน] ว. ผงาด เช่น ทั้งอกไหล่ก็ผายผึ่งผง่านโง. (ม. คำหลวง ชูชก).

ชำลา

หมายถึงว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).

เขือม

หมายถึงก. เข้มแข็ง เช่น ทั้งอกไหล่ก็ผายผึ่งผงาดเงื้อมเขือมขยัน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

หมูแผ่น

หมายถึงน. ของกินทำด้วยเนื้อหมูแล่เป็นแผ่นบาง ๆ ปรุงรส ผึ่งแดดให้แห้ง แล้วปิ้งให้สุก.

ลืมต้น

หมายถึงว. ลักษณะที่ผลไม้มีส้มโอเป็นต้น ซึ่งเก็บเอามาผึ่งไว้นานวัน เพื่อให้เปลือกเหี่ยวจะได้คลายความเปรี้ยวจัด เรียกว่า ลูกไม้ลืมต้น.

ตาก

หมายถึงก. ผึ่งให้แห้ง เช่น ตากผ้า, ปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เช่น ตากแดด ตากฝน; ตรำ, สู้ทน, เช่น เดินตากฝน นอนตากยุง. ว. ห่าง, แบะออก, เช่น ควายเขาตาก คือ ปลายเขาไม่รวมเข้าหากัน; ที่ผึ่งแดดจนแห้ง เช่น ข้าวตาก กล้วยตาก; เรียกหลังคาเรือนที่ชันน้อยว่า หลังคาตาก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ