ค้นเจอ 9 รายการ

ประชัน

หมายถึงว. อาการที่แข่งขันเพื่อให้รู้ว่าใครจะแสดงได้ดีกว่าหรือเก่งกว่ากัน เช่น งิ้ว ๒ โรงประชันกัน อย่าเอาเป็ดขันประชันไก่, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เด็กร้องไห้ประชันกัน.

ประชน

หมายถึงก. ประชัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ประชัน เป็น ประชนประชัน.

ประจัน

หมายถึงก. กั้นเป็นส่วนสัด เช่น ฝาประจันห้อง; ประชัน, ประเชิญ, เผชิญ, เช่น หันหน้าประจันกัน; เรียกไม้ที่ใช้คํ้าแคมเรือที่เบิกได้ที่แล้วเพื่อไม่ให้หุบว่า ไม้ประจัน.

เป็ดขันประชันไก่

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่มีความรู้ความสามารถน้อยแต่อวดแสดงแข่งกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง.

ต่อตี

หมายถึงก. ตีประชันหน้าเข้าไป.

ท่อถ้อย

หมายถึงน. คำโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, ใช้ว่า ถ้อถ้อย หรือ ท้อถ้อย ก็มี.

ท้อถ้อย

หมายถึงน. คำโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, ใช้ว่า ถ้อถ้อย หรือ ท่อถ้อย ก็มี.

ถ้อถ้อย

หมายถึง(กลอน) น. คำโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, บางแห่งใช้ ท่อถ้อย หรือ ท้อถ้อย ก็มี.

วง

หมายถึงน. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกันเป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ในการรำ, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรำ; ลักษณนามใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คนนั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วง หรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็นชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วงประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทำเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอเขียนเป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ