ค้นเจอ 160 รายการ

ค่อย

หมายถึงว. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.

มั่ง

หมายถึงก. มี, มีมาก. (ปาก) ว. บ้าง เช่น ขอมั่งซี.

มหันต,มหันต-,มหันต์

หมายถึง[มะหันตะ-, มะหัน] ว. ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).

ษัษ

หมายถึงว. หก. (คำสมาสใช้ ษัฏ บ้าง ษัฑ บ้าง ษัณ บ้างตามวิธีสนธิ). (ส.; ป. ฉ).

บ้าง

หมายถึงว. ใช้ประกอบคำอื่นหมายความว่า บางจำนวนหรือบางส่วนของสิ่งที่กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของจำนวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทำก็ทำบ้าง. ส. คำใช้แทนผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยกกล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

ถัก

หมายถึงก. เอาเส้นเชือกหรือหวายเป็นต้นไขว้สอดประสานกันให้เป็นลวดลายต่าง ๆ บ้าง ให้เป็นเส้นและเป็นผืนบ้าง ให้ติดต่อกันบ้าง.

อนีก,อนีก-,อนีกะ,อนึก

หมายถึง[อะนีกะ-, อะนึก] น. กองทัพในสมัยโบราณ, เมื่อใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสใช้ว่า อนีกะ บ้าง อนึก บ้าง เช่น ปัตตานีกะ ปัตตานึก = กองทัพเหล่าราบ กองทัพทหารเดินเท้า, อัศวานีกะ อัศวานึก = กองทัพม้า เหล่าทหารม้า. (ป., ส.).

อดมื้อกินมื้อ

หมายถึงก. มีกินบ้างไม่มีกินบ้าง.

แบ่งรับแบ่งสู้

หมายถึงก. รับบ้างปฏิเสธบ้าง, รับหรือปฏิเสธโดยมีเงื่อนไข, ภาคเสธ.

ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ

หมายถึงก. เอาใจใส่ดูแลบ้างไม่เอาใจใส่ดูแลบ้าง.

กำขี้ดีกว่ากำตด

หมายถึง(สำ) ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย.

พอได้

หมายถึงว. พอใช้ได้บ้าง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ