ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา บงสุกุล, ปังสุกุล, สดับปกรณ์, ภูษาโยง

บังสุกุล เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

บังสกุล เป็นคำที่เขียนผิด ❌

บังสุกุล

หมายถึงน. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปำสุกูล).

บงสุกุล

หมายถึงน. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติใช้ว่า บังสุกุล. (ดู บังสุกุล). (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น).

สดับปกรณ์

หมายถึง[สะดับปะกอน] ก. บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย). น. พิธีสวดมาติกาบังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะเจ้านาย. (ป. สตฺตปฺปกรณ; ส. สปฺตปฺรกรณ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์).

ปังสุกุล

หมายถึง(แบบ) น. บังสุกุล. (ป.).

ภูษาโยง

หมายถึงน. แถบผ้าที่โยงจากปากโกศหรือหีบศพสำหรับคลี่ทอดไปยังพระสงฆ์เมื่อทำพิธีกรรม เช่น บังสุกุล หรือโยงจากราชรถประดิษฐานพระโกศไปยังรถนำหน้าพระศพ.

เครื่องสังเค็ด

หมายถึงน. ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ.

สังเค็ด

หมายถึงน. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด.

ผ้าป่า

หมายถึงน. ผ้า (พร้อมทั้งเครื่องบริวาร ถ้ามี) ที่นำเอาไปวางทอดไว้เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า เพื่อให้พระชักเอาไป เป็นทำนองผ้าบังสุกุล มักทำเป็นปรกติต่อท้ายทอดกฐิน เรียกว่า ทอดผ้าป่า.

บงสุกูลิก

หมายถึงน. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).

บังสุกูลิก

หมายถึง(แบบ) น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเครื่องนุ่งห่ม คือไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).

ชัก

หมายถึงก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้าชักออก; นำ เช่น ชักนํ้าเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน; นำเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชักค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกำแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ