ค้นเจอ 17 รายการ

บรรเทา

หมายถึง[บัน-] ก. ทุเลาหรือทำให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทำให้ผ่อนคลายลง, เบาบางหรือทำให้เบาบางลง, สงบหรือทำให้สงบ, เช่น บรรเทาทุกข์ อาการโรคบรรเทาลง, ประเทา ก็ใช้.

ยา

หมายถึงน. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทำก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคำว่า เยียวยา; ทำให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.

เภสัชศาสตร์

หมายถึง[เพสัดชะสาด] น. วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค.

ประณุท

หมายถึง[ปฺระนุด] ก. บรรเทา, ระงับ. (ส. ปฺรณุท; ป. ปนุท).

ประเทา

หมายถึงก. บรรเทา, ทุเลา, คลาย, เบาลง, ให้สงบ, ทำให้เบาบางลง.

วิโนทก

หมายถึงน. ผู้บรรเทา. (ป., ส.).

สภากาชาด

หมายถึงน. องค์การพยาบาลและบรรเทาทุกข์.

แก้ขวย,แก้เขิน

หมายถึงก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย.

ซา

หมายถึงก. ลดน้อยถอยลงกว่าที่เป็นอยู่, บรรเทาเบาลงกว่าที่เป็นอยู่, เช่น ฝนซา ไฟซา.

แปรไข้

หมายถึงน. วิธีรักษาโดยวางยาตามแบบแพทย์แผนโบราณ เพื่อบรรเทาโรคหนักให้เบาลง.

คลี่คลาย

หมายถึงก. บรรเทาลงโดยลำดับ เช่น เหตุการณ์รุนแรงคลี่คลายลง; ทำให้กระจ่างโดยลำดับ เช่น ตำรวจคลี่คลายเงื่อนงำในคดีฆาตกรรม.

ประชาสงเคราะห์

หมายถึงน. การช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ เช่นการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบสาธารณภัยที่รัฐให้แก่ประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ