ค้นเจอ 510 รายการ

น้ำฝาด

หมายถึงน. น้ำที่มีรสฝาด เกิดจากการเอาเปลือกไม้แก่นไม้เป็นต้นของไม้บางชนิดเช่นขนุนมาต้ม ใช้ย้อมสบงจีวร, ฝาด ก็ว่า เช่น ผ้าย้อมฝาด.

ฝาด

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นในสกุล Lumnitzera วงศ์ Combretaceae ขึ้นตามป่าชายเลน ใช้ทำฟืน เปลือกใช้ฟอกหนัง มี ๒ ชนิด คือ ฝาดขาว (L. racemosa Willd.) ดอกสีขาว และ ฝาดแดง (L. littorea Voigt) ดอกสีแดง.

ฝาด

หมายถึงว. รสชนิดหนึ่งอย่างรสหมากดิบทำให้ฝืดคอ กลืนไม่ลง นํ้าลายแห้ง.

หูฝาด,หูเฝื่อน

หมายถึงก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป.

ให้น้ำ

หมายถึงก. ให้นักมวยหรือคู่ต่อสู้เป็นต้นหยุดพักเหนื่อยชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้ดื่มน้ำ เช็ดหน้า หรือเช็ดตัวเป็นต้น ก่อนจะลงมือสู้ในยกต่อไป.

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

กาสาว,กาสาว-,กาสาวะ

หมายถึง[กาสาวะ-] น. ผ้าย้อมฝาด, เขียนเป็น กาสาว์ ก็มี. (ป.).

อัฏฐบาน

หมายถึง[-บาน] น. น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเม็ด น้ำกล้วยไม่มีเม็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฐบาน ก็มี.

หมากหน้าแก่,หมากหน้าฝาด

หมายถึงน. ผลหมากอย่างดี เมื่อผ่าสดจะเห็นว่ามีเนื้อมาก สีออกส้มหรือน้ำตาลแดง มีวุ้นน้อย หน้าหมากมียางเยิ้มเป็นมัน มีลายเส้นในเนื้อมาก รสฝาด.

แปล้น้ำ

หมายถึงก. ปริ่มน้ำ เช่น เรือแปล้น้ำ.

กระดี่ได้น้ำ

หมายถึง(สำ) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ.

ถือน้ำ

หมายถึงก. ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ