ค้นเจอ 463 รายการ

ริน,ริน ๆ

หมายถึงก. เทให้ไหลออกเรื่อย ๆ ทีละน้อย เช่น รินนํ้าใส่ถ้วย. ว. เรื่อย ๆ, น้อย ๆ, เช่น นํ้าไหลริน ลมพัดริน ๆ. น. ทองคำที่มีเนื้อหย่อนกว่าเนื้อ ๔ เรียกว่า ทองริน.

มิต,มิต-

หมายถึง[-ตะ-] ว. พอประมาณ, น้อย. (ป.).

ขนหน้าแข้งไม่ร่วง

หมายถึง(สำ) ว. ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ).

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

ตรึกถอง

หมายถึง[ตฺรึก-] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึกถอง หรือ ไม่ตรึกไม่ถอง เช่น มีทรัพย์สมบัติไม่ตรึกถอง นับไม่ตรึกไม่ถอง.

ทร,ทร-

หมายถึง[ทอระ-] คำอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).

เพ็จ

หมายถึงว. เล็ก, ย่อม, น้อย.

มาก

หมายถึงว. หลาย, ตรงกันข้ามกับ น้อย, เช่น คนมาก น้ำมาก กินมาก.

มิดเม้น

หมายถึงก. ซ่อนของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ลับตา.

บันเบา

หมายถึงว. น้อย (โดยมากมักใช้ในทางปฏิเสธหรือเป็นเชิงคำถาม) เช่น ไม่บันเบา เรื่องนี้น่าสนใจบันเบาไปหรือ.

เบ็ดเตล็ด

หมายถึง[เบ็ดตะเหฺล็ด] ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น ของเบ็ดเตล็ด, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สู้จะสำคัญอะไรนัก เช่น เรื่องเบ็ดเตล็ด.

หรัสว,หรัสว-

หมายถึง[หะรัดสะวะ-] ว. สั้น; เล็ก, น้อย; ตํ่า, เตี้ย. (ส.; ป. รสฺส).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ