ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อกรรมกริยา, อิริยาบถ, นิทร, ผทม, บรรทม, แรมรอน, ศยะ, กราบ, นิทรา, ไสยาสน์
อกรรมกริยา
หมายถึง[อะกำกฺริยา, อะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).
อิริยาบถ
หมายถึงน. อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. (ป.).
นิทร
หมายถึง[นิด] (กลอน) ก. นิทรา, นอน.
แรมรอน
หมายถึงก. หยุดพัก นอน.
ศยะ
หมายถึง[สะ-] ก. นอน; หลับ; อยู่, พักผ่อน, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส. (ส.).
กราบ
หมายถึง[กฺราบ] (โบ) ก. นอน เช่น เถ้าก็กราบกรนอึงอยู่นั้น. (ม. คำหลวง กุมาร).
โนน
หมายถึง(โบ) ก. นอน. (จารึกสยาม).
กินนร
หมายถึง[-นอน] น. อมนุษย์ในนิยาย มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็ใส่ปีกใส่หางบินไป.
นิทรา
หมายถึง[นิดทฺรา] น. การหลับ, การนอนหลับ. ก. หลับ, นอน, เช่น ให้หาวนิทราเป็นพ้นไป. (อิเหนา). (ส.; ป. นิทฺทา).
ไสยาสน์
หมายถึง[ไสยาด] ก. นอน, เรียกพระพุทธรูปในท่านอนว่า พระไสยาสน์ หรือ พระพุทธไสยาสน์, เรียกพระพุทธรูปปางนอนว่า พระปางไสยาสน์. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระเขนย พระบาททั้ง ๒ ตั้งซ้อนกัน. [ป. เสยฺย (นอน) + อาสน (นั่ง)].
เอนกาย,เอนตัว,เอนหลัง
หมายถึงก. นอน.
เข้าที่
หมายถึงก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม.