ค้นเจอ 225 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ภฤษฏ์, น้ำ, อาขยาต

ธาตุ

หมายถึง[ทาด, ทาตุ-] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่น-อีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.

ธาตุ

หมายถึง[ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส.

ภฤษฏ์

หมายถึง[พฺรึด] ก. ตก, ร่วง, หล่น. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรํศฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ].

ภฤษฏ์

หมายถึง[พฺรึด] ก. ปิ้ง เคี่ยว หรือคั่วแล้ว. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรชฺชฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ].

ครรภธาตุ

หมายถึง[คับพะ-] น. ส่วนของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ธาตุครรภ หรือ เรือนธาตุ ก็ว่า. (ส. ครฺภ + ธาตุ).

ธาตุ,ธาตุ,ธาตุ-

หมายถึง[ทาด, ทาตุ-, ทาดตุ-] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).

บรรพตธาตุ

หมายถึง(แบบ) น. แร่. (ส. ปรฺวต + ธาตุ).

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

อาขยาต

หมายถึง[-ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).

สารีริกธาตุ

หมายถึง[-ริกกะทาด] น. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, ใช้ว่า พระบรมสารีริกธาตุ. (ป. สารีริก + ธาตุ).

ครรภธาตุมณฑล

หมายถึงน. ภาวะอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในสรรพสัตว์ แต่ยังไม่ได้สำแดงให้ปรากฏ. (ส. ครฺภ + ธาตุ + มณฺฑล).

ธาตุ

หมายถึง[ทาด] น. รากศัพท์ของคำบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ