ค้นเจอ 160 รายการ

ท่านั้นท่านี้

หมายถึง(สำ) ว. อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้, เช่น พูดท่านั้นท่านี้.

ท่า

หมายถึงน. ฝั่งนํ้าสำหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สำหรับขึ้นลงริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลำคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.

เอกโทษ

หมายถึง[เอกโทด] น. คำที่เคยใช้ไม้โทโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้เอกเสียงเดียวกันในบทร้อยกรองประเภทโคลงที่บังคับใช้ไม้เอก เช่น เข้า เป็น เค่า, ถ้า เป็น ท่า.

ท่า

หมายถึงน. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกำหนดเป็นวิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารำ; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.

ท่า

หมายถึงก. รอคอย เช่น เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน. (อิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับ คอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า.

ท่าทาง

หมายถึงว. กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น เช่น ท่าทางดี ท่าทางไม่ดี, บางทีใช้ว่า ท่า ก็มี.

ถ่าย

หมายถึงก. เอาออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่ง เช่น ถ่ายรถ ถ่ายเรือ, เอาสิ่งหนึ่งออกแล้วเอาอีกสิ่งหนึ่งใส่เข้าไปแทนที่ เช่น ถ่ายนํ้า ถ่ายเลือด; รุ เช่น ถ่ายยา. ว. ฝ่าย, ท่า, เช่น ถ่ายเดียว.

ไม่เป็นท่า

หมายถึงก. หมดรูป, ไม่เข้าท่า, ไม่ได้ความ, เช่น แพ้ไม่เป็นท่า.

ไว้ท่า

หมายถึงก. ทำท่าทางเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหรือมีเกียรติสูง.

มองเสี้ยว

หมายถึงน. ท่าโขนท่าหนึ่ง.

แขกเต้าเข้ารัง

หมายถึงน. ท่ารำท่าหนึ่ง.

ชักแป้งผัดหน้า

หมายถึงน. ท่าละครท่าหนึ่ง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ