ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา โอฆ,โอฆ-,โอฆะ, ปปัญจธรรม, ปิฐิ, อนุสัย, ทิฏฐะ,ทิฐ,ทิฐ-
ทิฐิ
หมายถึง[ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺิ; ส. ทฺฤษฺฏิ).
โอฆ,โอฆ-,โอฆะ
หมายถึง[โอคะ-] น. ห้วงนํ้า; ในพระพุทธศาสนาหมายถึงกิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์ มี ๔ อย่าง คือ ๑. กาโมฆะ = โอฆะ คือ กาม ๒. ภโวฆะ = โอฆะ คือ ภพ ๓. ทิฏโฐฆะ = โอฆะ คือ ทิฐิ ๔. อวิชโชฆะ = โอฆะ คือ อวิชชา. (ป., ส.).
ปปัญจธรรม
หมายถึง(แบบ) น. ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ. (ป.).
สันทิฐิก,สันทิฐิก-
หมายถึง[สันทิดถิกะ-] (แบบ) ว. ควรเห็นเอง, เป็นคุณของพระธรรมอย่างหนึ่ง. (ป. สนฺทิฏฺิก; ส. สานฺทฺฤษฺฏิก).
วินิต
หมายถึงก. ฝึกหัดหรืออบรม, ทำให้ละพยศหรือละทิฐิมานะ, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).
ตายดาบหน้า
หมายถึงก. มุ่งเสี่ยงไปข้างหน้า, เสี่ยงหนีเหตุการณ์ร้ายปัจจุบันไปเผชิญชีวิตข้างหน้า, มีทิฐิมานะที่จะต่อสู้กับเคราะห์กรรมเอาข้างหน้า, เสี่ยงทำไปก่อน แล้วค่อยคิดแก้เหตุการณ์ภายหลัง.
ทรมาน
หมายถึง[ทอระมาน] ก. ทำให้ลำบาก, ทำทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทำให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้นด้วยคำนี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).