ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทวี, ทำนวย, ทาย, ทำนาย, ทิพ,ทิพ-, ปฏิ,ปฏิ-, สลากกินแบ่ง, สวย
ทวย
หมายถึงน. หมู่, เหล่า, เช่น ทวยราษฎร์.
หมายถึงน. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสำหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขันใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จากเบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
กระทวย
หมายถึงน. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ).
ทำนวย
หมายถึงน. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น แท้ทวยทำนวยน้อม. (สมุทรโฆษ). (แผลงมาจาก ทวย).
คันทวย
หมายถึงน. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, ทวย ก็เรียก.
คิง
หมายถึง(ถิ่น) น. ร่างกาย เช่น รทวยรแถ้ง คิงคมกล้องแกล้ง. (สุธนู).
กลหาย
หมายถึง[กะละ-] (โบ; กลอน) ก. กระหาย เช่น อันว่าทวยท่ววทงงหลายหื่นกลหายสาหัส. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
จงกล
หมายถึง[-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทำให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สำหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้านของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป.
พระ
หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.