ค้นเจอ 368 รายการ

ตั้ง

หมายถึงก. ชูตัว, ชูตัวหรือทำให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าวเอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดำรง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทำให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตำแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้งเปรียญ; กำหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสำรับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คำแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง.

หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.

เปศัส,เปศัส-

หมายถึง[เปสัด, เปสัดสะ-] (แบบ) น. รูป, ทรง, สี; รูปงาม; เครื่องประดับ; ลายพร้อย, ผ้ามีลายดอกดวงต่าง ๆ. (ส.).

ถวัลย์

หมายถึง[ถะหฺวัน] ก. ทรง, ครอง; เจริญ. ว. ใหญ่.

ธรง

หมายถึง[ทฺรง] (โบ; เลิก) ก. ทรง. (สามดวง).

รูปร่าง

หมายถึงน. ลักษณะร่างกาย เช่น เขามีรูปร่างสูงโปร่ง, ทรวดทรง, ทรง, เช่น หลังคานี้รูปร่างเหมือนเก๋งจีน; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอกเป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น.

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

ทรงกลด เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ทรงกรด เป็นคำที่เขียนผิด ❌

เสียรูปทรง,เสียรูปเสียทรง

หมายถึงก. ผิดไปจากรูปทรงเดิม, ผิดไปจากรูปทรงที่ถือว่างาม, เช่น เขาป่วยหนักมา ๓ เดือน ผอมมากจนเสียรูปเสียทรงหมด ตอนสาว ๆ ก็รูปร่างดี พอมีอายุมากขึ้น อ้วนเผละจนเสียรูปทรงหมด.

รูปทรง

หมายถึงน. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อนหรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด.

อัฐิสัณฐาน

หมายถึงน. ทรงกระดูก.

ธำรง

หมายถึงก. ทรงไว้, ชูไว้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ