ค้นเจอ 10 รายการ

ทบวง

หมายถึง[ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.

นิติบุคคล

หมายถึง(กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุนเพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ.

ราชกิจจานุเบกษา

หมายถึงน. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท.

ทบวงการเมือง

หมายถึง(กฎ) น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล.

กรุ

หมายถึง[กฺรุ] น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้นสำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.

การคลัง

หมายถึงน. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการเงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.

กฎทบวง

หมายถึง(กฎ) น. ข้อบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเช่นเดียวกับกฎกระทรวง.

รัฐมนตรี

หมายถึง[รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐบาล รับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์.

สถาปนา

หมายถึง[สะถาปะนา] ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้น เช่นเลื่อนเจ้านายให้สูงศักดิ์ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มักใช้แก่หน่วยราชการหรือองค์การที่สำคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย) เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน วันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ส. สฺถาปน; ป. าปน).

กรม

หมายถึง[กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ