ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ทศ,ทศ,ทศ-, ไตรทศ, ทท, ทศ,ทศ,ทศา

ทด

หมายถึงก. กันไว้, กั้นไว้, ทำให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทำนบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า; แทน, เป็นคำใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็นตอบแทน, บางทีใช้ ทด คำเดียว เช่น ทดข้าวทดปลา; เพิ่ม. น. สิ่งที่ใช้กั้นนํ้า.

ทศ,ทศ,ทศ-

หมายถึง[ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

ไตรทศ

หมายถึง[-ทด] น. เทวดา ๓๓ องค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ไม่แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์อีก ๓๒ องค์, ตรีทศ ก็ว่า.

ทท

หมายถึง[ทด, ทะทะ] น. ผู้ให้, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์ เช่น กามทท = ผู้ให้สิ่งที่น่าปรารถนา. (ป., ส.).

ทศ,ทศ,ทศา

หมายถึง[ทด, ทะสา] (แบบ) น. ชายผ้า, ชายครุย. (ส.).

ชลประทาน

หมายถึง[ชนละ-, ชน-] น. การทดนํ้าและระบายนํ้าเพื่อการเพาะปลูกเป็นต้น.

ทศมี

หมายถึง[ทะสะมี, ทดสะมี] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมีดิถี = วัน ๑๐ คํ่า. (ส.).

ทดโทร่ห

หมายถึง[-โทฺร่] (แบบ) ก. การคิดประทุษร้าย, ใช้เข้าคู่กับคำ กบฏ เป็น กบฏทดโทร่ห, ทดโท่ ก็ว่า.

กระกอง,ตระกอง

หมายถึง(แบบ) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น เกษแก้วกระกองกลม แลกทดกทันงาม. (เสือโค).

ทศม,ทศม-

หมายถึง[ทะสะมะ-, ทดสะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน = วันที่ ๑๐. (ส.).

เกียร์

หมายถึงน. กลอุปกรณ์ที่ส่งผ่านกำลังและการเคลื่อนที่จากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งของเครื่องกล; ส่วนหนึ่งของรถยนต์ เรือยนต์ เป็นต้น ต่อจากคลัตช์ ทำหน้าที่เปลี่ยนอัตราส่วนการทดรอบระหว่างเครื่องยนต์กับล้อ, เขียนเป็น เกีย ก็มี. (อ. gear).

ขัณฑสกร

หมายถึง[ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณูโรยร่วงลงบนใบอุบล ซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา; ส.ขณฺฑศรฺกรา).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ