ค้นเจอ 337 รายการ

ทาย

หมายถึง(กลอน) ก. ยก; ถือ เช่น ทายธนู ว่า ถือธนู.

ถือ

หมายถึงก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดำรงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคลหรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคำว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.

ทะทาย

หมายถึงก. จับ, ถือ.

กรร

หมายถึง[กัน] (โบ) ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).

กำนัน

หมายถึงน. ผู้ป้องกัน, ผู้รักษา, ผู้ดูแล, เช่น หัวหมื่นกับกำนันพระแสง; (กฎ) ตำแหน่งพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตตำบล. ก. กัน, ถือ, เช่น พระจงกำนันกำหนดสัญญา. (สุธน).

คราส

หมายถึง[คฺราด] ก. กิน เช่น จันทรคราส สุริยคราส (โบราณ เขียนเป็น จันทรคาธ สุริยคาธ โดยถือว่ามาจากบาลีว่า จนฺทคฺคาห สุริยคฺคาห); จับ, ถือ, เช่น สิบนิ้วคราสคนธกำจร เทียนธูปบวร. (สมุทรโฆษ). (ส.).

กระลิง

หมายถึง(กลอน) ก. จับ, ถือ, โดยมากใช้เป็น กระลึง.

กระลึง

หมายถึง(โบ) ก. จับ, ถือ, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง. (ลอ).

จำทวย

หมายถึง(กลอน) ก. ถือ, ถืออาวุธร่ายรำ, เช่น จำทวยธนูในสนาม. (สมุทรโฆษ).

จำทาบ

หมายถึง(กลอน) ก. จับ, ถือ.

เชิญ

หมายถึงก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเทวดา เชิญมารับประทานอาหาร; ถือ อุ้ม ชู หรือนำไปเป็นต้นด้วยความเคารพ เช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง เชิญขันหมาก; กล่าวอนุญาตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสุภาพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเถิด เชิญครับ เชิญตามสบาย.

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ