ค้นเจอ 6 รายการ

ตะลุง

หมายถึงน. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).

ตะลุง

หมายถึงน. เรียกไม้ท่อนกลม หัวเสากลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ปักเป็นหลักคู่หนึ่ง สำหรับล่ามช้างหรือผูกช้างเครื่องยืนแท่น ว่า เสาตะลุง.

เสาตะลุง

หมายถึงน. ไม้ท่อนกลม หัวเสากลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ปักเป็นหลักคู่หนึ่ง สำหรับล่ามช้างหรือผูกช้างเครื่องยืนแท่น, ตะลุง ก็ว่า.

ฆ้องคู่

หมายถึงน. ฆ้องที่ใช้บรรเลงในการเชิดหนังตะลุงและละครโนราชาตรี ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก, ปักษ์ใต้เรียก โหม่ง.

พากย์

หมายถึงก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนังใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือการแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คำพูด, ภาษา; คำกล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).

ชาตรี

หมายถึง[-ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ ที่มีคำ ชาตรี นำหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ