ค้นเจอ 11 รายการ

ตระเวน

หมายถึง[ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยวตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นำนักโทษตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.

ทะเวน

หมายถึง(โบ) ก. พานักโทษไปประจานในที่ต่าง ๆ, ตะเวน ตระเวน หรือ กระเวน ก็ว่า.

ตะเวน

หมายถึง(ปาก) ก. ตระเวน.

กระเวน

หมายถึง(กลอน) ก. ตระเวน, เที่ยวไป. (เทียบ ข. กฺรแวล ว่า คอยดู, กองตระเวน).

ไปลาด

หมายถึง(โบ) ก. ไปตระเวน, ไปคอยตรวจเหตุการณ์.

เตรน

หมายถึง[เตฺรน] (กลอน) ก. เตร็ดเตร่ เช่น เที่ยวเตรนตระเวนหาคู่. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

เลียบค่าย

หมายถึงก. ตรวจดูความเรียบร้อยของกองทัพ, ส่งคนไปลาดตระเวนดูกำลังข้าศึก.

จเร

หมายถึง[จะ-] น. ผู้ดูแลทั่ว ๆ ไป, ผู้ตรวจตราทั่ว ๆ ไป, เช่น จเรตำรวจ จเรทหาร. ก. ตระเวนไป.

ศาลโปริสภา

หมายถึง[สานโปริดสะพา] (กฎ; เลิก) น. ศาลชั้นต้นที่จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทำนองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน.

วิ่งรอก

หมายถึงก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอกทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทำให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือคืนเดียวกันให้ทันกำหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวนหาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.

เร่

หมายถึงก. เที่ยวไปไม่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้างขนส่งซึ่งไม่ประจำที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มีจุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและเวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่นหมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้าที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ