ค้นเจอ 49 รายการ

ดอน

หมายถึงน. ที่สูงซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, ที่ห่างนํ้า, เนิน, โคก, โขด, เขิน; (ถิ่น-อีสาน) เรียกเกาะในแม่นํ้าว่า ดอน; คำประพันธ์โบราณเขียนเป็น ดร ก็มี.

ผลุบโผล่,ผลุบ ๆ โผล่ ๆ

หมายถึงว. อาการที่ผลุบลงแล้วผุดขึ้น, อาการที่ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา, จม ๆ ลอย ๆ, เช่น ขอนลอยน้ำผลุบ ๆ โผล่ ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ทำบ้างไม่ทำบ้างไม่สมํ่าเสมอ, ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, กะผลุบกะโผล่ หรือ ผลุบโผล่ ๆ ก็ว่า.

ราบ

หมายถึงว. เรียบเสมอพื้นไม่มีลุ่ม ๆ ดอน ๆ เช่น ที่ราบ ราบเป็นหน้ากลอง, โดยปริยายหมายความว่า หมดสิ้น เช่น หญ้าตายราบ ปราบศัตรูเสียราบ; ล้มระเนระนาด เช่น พายุพัดป่าราบ; เรียกทหารเดินเท้าว่า ทหารราบ, เรียกชายฉกรรจ์ที่อายุครบเข้าประจำการทหาร.

โขยกเขยก

หมายถึงอาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน อาการที่เดินไปด้วยความลำบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ กะโผลกกะเผลก ก็ว่า

สำนวน

หมายถึงน. ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.

ลุ่ม ๆ ดอน ๆ

หมายถึงว. สูง ๆ ต่ำ ๆ, ไม่สม่ำเสมอ, เช่น ที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ; ไม่ราบรื่น เช่น ชีวิตลุ่ม ๆ ดอน ๆ.

ดร

หมายถึง[ดอน] (แบบ) น. พ่วง, แพ. (ป., ส. ตร).

ดร

หมายถึง(โบ) น. ดอน.

วนาดร,วนาดอน

หมายถึงน. ป่าสูง. (วนา + ดอน), พนาดอน หรือ พนาดร ก็ว่า.

เสมอ ๆ

หมายถึง[สะเหฺมอสะเหฺมอ] ว. เรียบราบ, ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, เช่น ปรับพื้นให้เสมอ ๆ กัน; ตลอดไป, บ่อยและเป็นประจำ, เช่น เขามาหาเสมอ ๆ.

พนันดร,พนานดร

หมายถึง[พะนันดอน, -ดอน] น. ระหว่างป่า, กลางป่า, ภายในป่า. (ป., ส. วนนฺตร).

ชามาดร,ชามาดา,ชามาตุ

หมายถึง[-ดอน] น. ลูกเขย. (ป. ชามาตุ; ส. ชามาตฺฤ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ