ค้นเจอ 141 รายการ

ฐาน,ฐาน,ฐาน-,ฐานะ

หมายถึง[ถาน, ถานะ-] น. ตำแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).

ยกเก็จ

หมายถึงก. ทำเก็จให้ยื่นออกมาจากฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ย่อเก็จ.

กระหมวด

หมายถึงน. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสำคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา.

ดรรชนี

หมายถึง[ดัดชะนี] (คณิต) น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดรรชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number).

ย่อมุม

หมายถึงก. ทำให้มุมของผังพื้นหรือวัตถุ เช่น แท่น ฐาน เสา ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา.

ฐาน

หมายถึง(คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จำนวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้างจำนวนอื่น ๆ โดยการยกกำลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จำนวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จำนวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จำนวนที่บอกปริมาณในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๑๐) + (๖ ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๗) + (๖ ๗๒).

พื้น

หมายถึงน. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็นแผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทำสวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.

ฐาน

หมายถึง[ถาน] น. ที่ตั้ง เช่น ฐานทัพ ฝีตั้งฐาน, ที่รองรับ เช่น ฐานพระพุทธรูป. (ป.).

ฐาน

หมายถึงสัน. เพราะ เช่น ถูกลงโทษฐานละเลยหน้าที่.

ฐาน เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ฐาณ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ย่อเก็จ

หมายถึงก. ทำเก็จให้ลึกเข้าไปในฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ยกเก็จ.

เก็จ

หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกมาจากหรือลึกเข้าไปในฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ