ค้นเจอ 12 รายการ

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๖ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รัฐ อัฐ.

ปาฐ,ปาฐ-,ปาฐะ

หมายถึง[-ถะ] (แบบ) น. เรื่องราว, บาลี, คัมภีร์, วิธีสาธยายคัมภีร์พระเวท. (ป., ส.).

กะก่อง

หมายถึง(กลอน) ว. งดงาม เช่น คางเพลาคือกลวิมลกัณ- ฐกะก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ).

กัณฐกะ

หมายถึง[-ถะกะ] น. เครื่องประดับคอ เช่น คางเพลาคือกลวิมลกัณ- ฐกก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

ปฐมาษาฒ

หมายถึง[ปะถะมาสาด] น. เดือน ๘ แรก, (โบ) เขียนเป็น ปฐมาสาฒ ก็มี. (ป. ปมาสาฬฺห; ส. ปูรฺวาษาฒ).

กด

หมายถึงน. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า แม่กด หรือ มาตรากด.

โปฐปทมาส

หมายถึง[โปดถะปะทะมาด] น. เดือนอันประกอบด้วยวันเพ็ญรวมนักษัตรโปฐปทา คือ เดือนภัทรบท ได้แก่ เดือน ๑๐ หรือเดือนกันยายน. (ป. โปฏฺปทมาส).

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

อักษรสูง

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.

ธาตุ

หมายถึง[ทาด, ทาตุ-] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่น-อีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.

มาตรา

หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

แม่

หมายถึงน. หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คำใช้นำหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทำกิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทำครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคนผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คำยกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจำพวกสิ่งที่สำหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ