ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สีกา, อีกา, กระแอก, ประสก, กา
ฎีกา เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ฏีกา เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ฎีกา
หมายถึงน. คำอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรืออธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้งการขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก. ยื่นคำร้องขอหรือคำคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
คำพิพากษาฎีกา
หมายถึง(กฎ) น. คำพิพากษาของศาลฎีกา.
วางฎีกา
หมายถึงก. ยื่นใบแจ้งขอเบิกเงินจากคลัง; ยื่นฎีกาอาราธนาพระสงฆ์ (มักใช้เนื่องในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี).
ร้องฎีกา
หมายถึงก. ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์.
ศาลสูง
หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกา.
ชีรณ,ชีรณ-,ชีรณะ
หมายถึง[ชีระนะ-] ว. เก่า, แก่, ชำรุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).
คดีอนาถา
หมายถึง(กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.
โยชนา
หมายถึง[โยชะนา] น. ชื่อคัมภีร์บาลีประเภทหนึ่ง ซึ่งบอกสัมพันธ์ศัพท์บาลีว่า ศัพท์ไหนเข้ากับศัพท์ไหนในต้นฉบับนั้น ๆ เช่น โยชนาฎีกาสังคหะ. (ป.).
คำฟ้อง
หมายถึง(กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
ศาลฎีกา
หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย.