ค้นเจอ 10 รายการ

ช้านาน

หมายถึงว. ล่วงเลยมานานแล้ว (ใช้แก่เวลา).

เจียร

หมายถึง[เจียน] ว. นาน, ช้านาน, ยืนนาน. (ป., ส. จิร ว่า ยั่งยืน).

จิรกาล

หมายถึงน. กาลนาน, เวลาช้านาน.

เนิ่นนาน

หมายถึงว. ช้านานมาแล้ว เช่น ในเวลาเนิ่นนานมาแล้ว, นานมาก เช่น อย่าให้เนิ่นนานนะ.

พังเพย

หมายถึงน. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง เช่น กระต่ายตื่นตูม.

ภาษิต

หมายถึงน. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติ เช่น กงเกวียนกำเกวียน. (ส.).

สายสัมพันธ์

หมายถึงน. ความผูกพันกันมาช้านาน, ความเกี่ยวข้องเป็นมิตรไมตรีกันมานาน, เช่น ไทยกับจีนมีสายสัมพันธ์อันดีมาหลายร้อยปีแล้ว.

สุภาษิต

หมายถึงน. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ. (ส.; ป. สุภาสิต ว่า ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว).

โบราณ,โบราณ-

หมายถึง[โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษรโบราณ หนังสือโบราณ, เก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).

สำนวน

หมายถึงน. ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ