ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา แร่, เปลือกโลก, ผัน, กำแพง, โขด, ผิน, ชิต,ชิต-, หิน, นวโลหะ, เจน
ชิน,ชิน-,ชิน-
หมายถึง[ชินะ-, ชินนะ-] น. ผู้ชนะ, พระพุทธเจ้า, ใช้ประกอบกับคำอื่นเป็น ชินวร ชิเนนทร์ หมายความว่า พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
ชิน
หมายถึงก. เคยมาแล้วบ่อย ๆ, คุ้นหรือเจน.
หมายถึงน. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง; (โบ) ชิน หรือ ชินธาตุ หมายถึง ดีบุก. (ปรัดเล).
หมายถึงก. บุอย่างบุทองแดง.
หมายถึงน. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อมหาวีระ, เชน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส.).
ชินชา
หมายถึงว. เคยบ่อย ๆ จนเลิกเอาใจใส่.
เคย
หมายถึงใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากริยานั้น ๆ ได้เป็นมาแล้ว เช่น เคยทำ = ได้ทำมาแล้ว เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว, บางทีใช้พูดละกริยาที่ประกอบเสีย เหลือแต่ว่า เคย ก็มี เช่น เคยไปหรือไม่เคย ไม่เคยเลย. ก. ชิน, คุ้น, เช่น เคยสนาม เคยเวที.
เบญจโลหะ
หมายถึงน. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).
สัตโลหะ
หมายถึง[สัดตะ-] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).
เชน
หมายถึงน. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย ศาสดาชื่อมหาวีระ มี ๒ นิกายคือ นิกายทิคัมพร และ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาทางศาสนา ถือมั่นในหลักอหิงสาและมังสวิรัติ, ชิน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส. ไชน).
ไชนะ
หมายถึงน. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อมหาวีระ, ชิน หรือ เชน ก็ว่า. (ส.).
นวโลหะ
หมายถึงน. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้านํ้าเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).