ค้นเจอ 106 รายการ

ชิด

หมายถึงน. ชื่อเนื้อในลูกไม้ชนิดหนึ่งได้จากต้นตาว (Arenga pinnata) มีเนื้อคล้ายลูกจาก เรียกว่า ลูกชิด. (ดู ตาว ๒, ต๋าว ประกอบ).

ชิด

หมายถึงก. ใกล้จวนติดหรือใกล้จนติดกัน เช่น นั่งชิดกัน ชิดเข้าไปอีกหน่อย.

บูชิต

หมายถึง[-ชิด] ว. บูชาแล้ว. (ป., ส. ปูชิต ว่า อันเขาบูชาแล้ว).

ชะชิด

หมายถึงก. ชิด, สนิท, ใกล้, เคียง.

ชิต,ชิต-

หมายถึง[ชิด, ชิตะ-] ก. ชนะแล้ว. (ป., ส.).

ประ,ประ-,ประ-

หมายถึง[ปฺระ] ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.

กระเสียน

หมายถึงว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).

ริม

หมายถึงน. ชาย, ขอบ, เช่น ริมคลอง ริมผ้า ริมโต๊ะ. บ. ใกล้, ชิด, เช่น นั่งริมหน้าต่าง. ว. ด้านนอก เช่น น้องนอนกลาง พี่นอนริม; (ปาก) เกือบ, จวน, เช่น ริมตาย.

แนม

หมายถึงก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ. (อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริกมีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.

แอบอิง

หมายถึงก. แนบชิด, อิงแอบ ก็ว่า.

อิงแอบ

หมายถึงก. แนบชิด, แอบอิง ก็ว่า.

มัญชิษฐะ,มัญชิษฐา

หมายถึง[มันชิดถะ, มันชิดถา] น. ฝาง. (ส.; ป. มญฺเชฏฺ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ