ค้นเจอ 8 รายการ

ชะลอม

หมายถึงน. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปทรงกระบอก สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, อีสานเรียก กระลอม ก็มี.

กระลอม

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า.

ทัก

หมายถึง(ถิ่น) น. ตะกร้าเก็บเกลือ ทำด้วยไม้ไผ่สาน ตาห่างคล้ายชะลอม ทรงสูงคล้ายชะลอม. (วิทยาจารย์).

กะทอ

หมายถึงน. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ตาโปร่งอย่างชะลอม รูปร่างเป็นกระบอก สำหรับใส่เสื้อผ้าและของอื่น ๆ ใช้กันมากในภาคอีสาน.

โพล่

หมายถึงน. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วยกาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน.

ไขว่

หมายถึง[ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมาอย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับแผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่น ว่า ๑ ไขว่.

ลายเฉลวโปร่ง

หมายถึงน. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานสิ่งของหลายอย่าง เช่น สานชะลอม สานกระเช้าตาดอกพิกุล มักสานด้วยไม้ไผ่ จะสานด้วยตอกปื้นหรือตอกตะแคงก็ได้ มีลักษณะเป็นตาหกเหลี่ยม, ลายเฉลว ๖ มุม ก็เรียก.

กรุ

หมายถึง[กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ