ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ฉบัด, ฉทึง, ฉบบ, ฉบับ, ฉ, ฉบัง
ฉะ
หมายถึงก. ฟันลงไป; (ปาก) คำใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว.
หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.
ฉบัด
หมายถึง[ฉะ-] (กลอน) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด. (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด. (สรรพสิทธิ์). (ข. จฺบาส่).
ฉทึง
หมายถึง[ฉะ-] น. แม่นํ้า เช่น ฉทึงธารคีรีเหวผา. (ดุษฎีสังเวย), ใช้ว่า จทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
ฉบบ
หมายถึง[ฉะ-] น. แบบ, เล่มหนังสือ, เรื่อง. (ข. จฺบาบ่).
ฉบับ
หมายถึง[ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสำนวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่นที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
ฉ
หมายถึง[ฉอ, ฉ้อ, ฉะ] ว. หก, สำหรับประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป.).
ฉบัง
หมายถึง[ฉะ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง บทละ ๑๖ คำ แบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ และ ๓ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ เช่น ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กระวี ไว้เกียรติ์และไว้นามกร (สามัคคีเภท). (ข. จฺบำง).
ฉกาจ,ฉกาจฉกรรจ์
หมายถึง[ฉะกาด, ฉะกาดฉะกัน] ว. เก่งกาจ, ดุร้าย, กล้าแข็ง.
เฉพาะ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ฉะเพาะ, ฉเพาะ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
เฉวียน
หมายถึง[ฉะเหฺวียน] ว. เวียน, วนเวียน.
ฉมา
หมายถึง[ฉะมา] น. แผ่นดิน. (ป.; ส. กฺษมา).