ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ว่า, ตระง่อง, น้อง, บ้อง, ส้อง
จ้อง
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ร่ม. (อนันตวิภาค ว่า จ่อง).
หมายถึงก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทำร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
กระหง่อง,กระหน่อง,กระหน่อง
หมายถึง(โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้.
จดจ้อง,จด ๆ จ้อง ๆ
หมายถึงก. ตั้งท่าจะทำแล้วไม่ลงมือทำเพราะไม่แน่ใจ.
ตระง่อง
หมายถึง[ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.
ตระหง่อง,ตระหน่อง
หมายถึง[ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
กระจองหง่อง,กระจ๋องหง่อง
หมายถึงว. อาการที่นั่งยอง ๆ จ้องดู.
จับตา,จับตา,จับตาดู
หมายถึงก. คอยเฝ้าสังเกต, จ้องระวังระไว.
ขึงตา
หมายถึงก. จ้องดูอย่างเขม็งด้วยอาการโกรธ หรือด้วยประสงค์จะห้าม.
เบิ่ง
หมายถึงก. จ้องดู, แหงนหน้าดู, เช่น ควายเบิ่ง.
ตาเป็นมัน
หมายถึง(สำ) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ.
สนทรรศน์
หมายถึง[-ทัด] น. การดู, การจ้องดู, การแลเห็น. (ส. สํ + ทรฺศน).