ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ผดุง, สสาร,สสาร-, ย้ำ,ย้ำ ๆ, ล้ำ, ทึก, ช้ำ, ค่ำ, ง้ำ, ผีซ้ำด้ำพลอย, บุริมพรรษา
ค้ำ
หมายถึงก. เอาไม้ง่ามเป็นต้นยันไว้เพื่อไม่ให้ทรุด ไม่ให้ล้มหรือไม่ให้เข้ามา.
ผดุง
หมายถึงประดุง, ค้ำ, ค้ำจุน, ระวัง, อุดหนุน
รากค้ำ
หมายถึงน. รากของพืชบางชนิด เช่น โกงกาง ข้าวโพด เตย ที่งอกออกมาเพื่อค้ำพยุงลำต้น.
ไม้ค้ำโพธิ์
หมายถึงน. ไม้สำหรับค้ำกิ่งโพธิ์ ทำด้วยไม้จริงหรือไม้ไผ่ ปลายมีง่าม นิยมหุ้มผ้าแดงและผ้าขาว.
บานกระทุ้ง
หมายถึงน. บานหน้าต่างที่ปิดงับและเปิดค้ำขึ้นได้.
แขนนาง
หมายถึงน. เครื่องค้ำยันชายคาเรือนเครื่องสับ ทำด้วยไม้หรือเหล็ก.
หับเผย
หมายถึงก. ปิดงับและเปิดคํ้าขึ้นได้. น. โรงเรือนที่มีลักษณะด้านหน้าปิดงับหรือเปิดค้ำขึ้นได้.
รถถ่อ
หมายถึงน. ยานพาหนะชนิดหนึ่งสำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟใช้ถ่อค้ำยันให้แล่นไปบนรางรถไฟ.
จรอก
หมายถึง[จะหฺรอก] (กลอน) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก).
พังก๊ำ
หมายถึงน. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นเส้น สานควบกับเส้นปอเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกรอบทั้ง ๔ ด้าน ใช้ทำเป็นฝากั้นล้อมหรือเป็นแผงหน้าบ้านหรือหน้าต่าง สำหรับค้ำยันให้ปิดเปิดได้.
ไม้เส้า
หมายถึงน. ไม้ยาวสำหรับยื่นไปช่วยคนตกน้ำในเวลาเรือพระประเทียบล่ม, ไม้กระทุ้งให้จังหวะในเรือดั้งในกระบวนพยุหยาตรา; ไม้ยาวสำหรับสอยหรือค้ำ; ไม้ยาวสำหรับชูเพนียดนกต่อขึ้นบนต้นไม้; ไม้ส้าว ก็ว่า.
ขันโตก
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ภาชนะทำด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่างเครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็นวงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.