ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ไวพจน์, คำพ้องความ, คำพ้องเสียง, คำพ้องรูป
คำไวพจน์
หมายถึงดู ไวพจน์
รสชาติ หรือ รสชาด เขียนยังไง
เซ็นชื่อ เขียนยังไง
อนุญาต เขียนยังไง
กะเพรา เขียนยังไง
ไวพจน์
หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง
หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)
คำพ้องรูป
หมายถึงคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
คำพ้องความ
หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า
คำพ้องเสียง
หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์
คำ
หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.
หมายถึงน. ทองคำ เช่น หอคำ เชียงคำ.
ย่ะ
หมายถึงว. คำรับ (ถือเป็นคำไม่สุภาพ).
ปฤจฉาคุณศัพท์
หมายถึง(ไว) น. คำคุณศัพท์ที่เป็นคำถาม เช่นคำ “อะไร” ฯลฯ.
รับสัมผัส
หมายถึงก. เรียกคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำส่งสัมผัสในวรรคหน้าว่า คำรับสัมผัส.
ถ้อยคำ
หมายถึงน. คำที่กล่าว.