ค้นเจอ 13 รายการ

คลาด

หมายถึง[คฺลาด] ก. เคลื่อนจากที่หมาย, เคลื่อนจากกำหนดเวลา; ไม่พบ ในคำว่า คลาดกัน.

คลาศ

หมายถึง[คฺลาด] (โบ) ก. คลาด, เคลื่อนจากที่หมาย, เช่น เร่งผ้ายเร่งคลาศคลา แลนา. (ลอ).

คลา

หมายถึง[คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).

แจ

หมายถึงว. กระชั้นชิด, ไม่คลาด, ไม่ห่าง, (ใช้ในอาการที่คุมหรือติดตาม) เช่น คุมแจ ตามแจ.

คลิด

หมายถึง[คฺลิด] ก. ขัด, แคลง, เคลื่อน, เคล็ด, เช่น มาอย่าคลิดอย่าคลาด. (ม. คำหลวง มหาราช).

เดียะ

หมายถึงว. คล่องแคล่ว เช่น ว่าเดียะ ว่าวปักเป้าส่ายเดียะ, อย่างกระชั้นชิดไม่ให้คลาดสายตา เช่น ตามเดียะ.

อวิโรธนะ

หมายถึง[อะวิโรทะนะ] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).

เงาตามตัว

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย; สิ่งที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามกัน เช่น นํ้ามันขึ้นราคา สินค้าอื่น ๆ ก็ขึ้นราคาเป็นเงาตามตัว.

อวิโรธน์

หมายถึง[อะวิโรด] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).

สาชล

หมายถึง(กลอน) น. สายชล, สายน้ำ, เช่น โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวังสวาทไม่คลาดคลา. (นิ. ภูเขาทอง).

แห

หมายถึง(วรรณ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ ห่าง เป็น ห่างแห หรือแหห่าง เช่น กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม. (เห่เรือ).

ทศพิธราชธรรม

หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ