ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ขว้าว, ขวาว, บายศรี, รวง, เข้า, ห่อ, บาย, โกย, ขวัญ, จังหัน
กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-
หมายถึง[กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.
ข้าว
หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae โดยเฉพาะชนิด Oryza sativa L. เมล็ดเป็นอาหารหลัก มีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว.
จาน
หมายถึงน. ภาชนะรูปแบน ๆ สำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ, ลักษณนามเรียกจานที่ไม่มีอะไรบรรจุว่า ใบ หรือ ลูก เช่น จานใบหนึ่ง จาน ๒ ลูก, ลักษณนามเรียกสิ่งของที่บรรจุอยู่ในจานว่าจาน เช่น ข้าวจานหนึ่ง ข้าว ๒ จาน, เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น จานเสียง, เรียกมะเขือชนิดหนึ่งว่า มะเขือจาน, คู่กับ มะเขือถ้วย.
สาลิ,สาลี,สาลี
หมายถึงน. ข้าว; ข้าวสาลี. (ป.).
ธัญพืช
หมายถึงน. พืชข้าวกล้า; พืชล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก. (ป. ธญฺพีช; ส. ธานฺยวีช).
บายศรี
หมายถึงน. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).
รวง
หมายถึงน. ช่อ (ใช้แก่ข้าว); ลักษณนาม เช่น ข้าวรวงหนึ่ง ข้าว ๒ รวง.
เข้า
หมายถึง(โบ) น. ข้าว; ขวบปี.
ห่อ
หมายถึงก. พันหรือหุ้มสิ่งของด้วยใบไม้หรือกระดาษเป็นต้น; ลักษณนามเรียกของที่หุ้มด้วยใบไม้หรือกระดาษเป็นต้น เช่น ขนมห่อหนึ่ง ข้าว ๒ ห่อ.
บาย
หมายถึงน. ข้าว. (ข.).
โกย
หมายถึงก. อาการที่ใช้มือหรือสิ่งอื่นคุ้ยหรือกวาดสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้าว ถ่าน มาทีละมาก ๆ, ขนหรือรวบเอาไปเป็นจำนวนมาก; (ปาก) วิ่งหนีไปโดยเร็ว.
ขวัญ
หมายถึง[ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจ เช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกำลังใจของเมือง; กำลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทำขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทำพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทำพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทำขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึงหญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กำลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.