ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อนุบาล, แวบ,แว็บ, ฮวบ, เลียง, ทักขิณา, บวบ, ขลบ, ขวง, ข่วง, ขวน
ขวบ
หมายถึงน. ปี, รอบปี, ลักษณนามใช้แก่อายุของเด็กประมาณ ๑๒ ปีลงมา เช่น เด็กอายุ ๕ ขวบ, เวลาที่นับมาบรรจบรอบ เช่น ชนขวบ.
อนุบาล
หมายถึงก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวังรักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
เข้า
หมายถึง(โบ) น. ข้าว; ขวบปี.
ชนมพรรษา
หมายถึง[ชนมะพันสา] น. อายุ. (ส. ชนฺมวรฺษ ว่า ขวบปีที่เกิดมา).
สมสอง
หมายถึง(วรรณ) ก. อยู่เป็นคู่ผัวเมีย, เขียนเป็น สํสอง ก็มี เช่น ยงงขวบคืนสํสอง เศกไท้. (กำสรวล).
ฝน
หมายถึงน. นํ้าที่ตกลงมาจากเมฆเป็นเม็ด ๆ; ลักษณนามใช้นับอายุ หมายความว่า รอบปี, ขวบปี, เช่น ควาย ๓ ฝน คือ ควายที่มีอายุ ๓ ปี เขาผ่านร้อนผ่านหนาวมา ๑๘ ฝน.
ตานขโมย
หมายถึงน. ชื่อโรคพยาธิลำไส้อย่างหนึ่ง มักเป็นแก่เด็กอายุประมาณ ๕ ขวบขึ้นไป มีลักษณะผอม ท้องป่อง ก้นปอด แต่กินอาหารได้มาก มีอาการปวดท้องและซึม.
ชน
หมายถึงก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
ขม่อม
หมายถึง[ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
บรรจบ
หมายถึง[บัน-] ก. เพิ่มให้ครบจำนวน เช่น บรรจบให้ครบร้อย บรรจบให้ครบถ้วน; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้บรรจบกัน ทาง ๒ สายมาบรรจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมบรรจบกัน; ชนขวบ เช่น บรรจบรอบปี, ประจบ ก็ใช้.
สัตถันดร,สัตถันดรกัป
หมายถึง[สัดถันดอน, สัดถันดะระกับ] น. ชื่อกัปหรือกัลป์หนึ่ง ซึ่งถือว่าคนเสื่อมจากศีลธรรมอย่างที่สุด มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่รู้จักญาติพี่น้อง เช่น ห้าขวบมีฆราวาส ใจร้ายกาจโกลี กัลปนั้นมีนามกร ชื่อสัตถันดรพึงมี. (มาลัยคำหลวง). (ป. สตฺถ + อนฺตร).
กระหม่อม
หมายถึงน. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).