ค้นเจอ 9 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา กระหม่อม, หม่อมห้าม, หม่อม

ขม่อมบาง

หมายถึง(สำ) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนขม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, กระหม่อมบาง ก็ว่า.

ขม่อม

หมายถึง[ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.

กระหม่อม

หมายถึงน. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).

กระหม่อมบาง

หมายถึง(สำ) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.

ผมจุก

หมายถึงน. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, จุก หรือ หัวจุก ก็เรียก.

หัวจุก

หมายถึงน. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, จุก หรือ ผมจุก ก็เรียก.

โองโขดง

หมายถึง[-ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.

โซงโขดง

หมายถึง[-ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).

จุก

หมายถึงน. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี; กลุ่ม, ขมวด, หมวด, (ใช้แก่หัวหอมหัวกระเทียม เรียกว่า จุกหอม จุกกระเทียม); ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นจุก เช่น ผูกผม ๒ จุก จุกหอม ๓ จุก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ