ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ภู่, กูฏ,กูฏา, สายยู, ปิตามหะ, ผีเสื้อ, มุ่ม, ลาน, ทู่, บ้า, ปฏิกูล
กู่
หมายถึงก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
หมายถึง(โบ) น. วิหาร เช่น ในกู่แก้วเกษมมฤคทายพนน้นน. (ม. คำหลวง ทศพร); (ถิ่น-พายัพ) อนุสาวรีย์, กุฏิ, เจดีย์.
กู่ไม่กลับ
หมายถึง(สำ) ก. ไม่ฟังคำทัดทาน, ห้ามไม่อยู่.
วู้
หมายถึงว. เสียงกู่เรียกหรือขานรับอย่างดัง.
โก่,โก้,โก้
หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. กู่ตะโกน, เรียกดัง ๆ.
สุดกู่
หมายถึงว. ไกลมากจนไม่ได้ยินเสียงกู่ เช่น เขาไปปลูกบ้านเสียจนสุดกู่, อยู่ท้าย ๆ เช่น สอบได้ที่สุดกู่ จอดรถไว้สุดกู่.
เกริ่น
หมายถึง[เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนำในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิงให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่น นกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
รับ
หมายถึงก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คำตอบที่ไม่ปฏิเสธ เช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทำ; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียง เช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.